วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานเดี่ยวดนตรี

ความหมายอันถูกต้องของคำว่า “ศิลปะ”
ท่าน พุทธทาสภิกขุ กล่าวถึงความหมายของศิลปะที่ถูกต้องในหัวข้อ “ศิลปะแห่งการใช้สติในทุกกรณี” เป็นการบรรยายครั้งที่ 6 แห่งภาควิสาขบูชา ณ ลานหินโค้ง สวนโมกขพลาราม ไชยา เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2533 ดังนี้
ขอให้ท่านทำความเข้าใจในความมุ่งหมายของการบรรยายนี้ให้ถูกต้อง เพราะมีความกำกวมบางอย่างที่อาจจะเข้าใจผิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำว่า “ศิลปะ” ในภาษาไทยคำนี้มันกำกวม ไม่ใช้รัดกุม เพราะไม่มีคำรัดกุม อาตมาจึงต้องจำกัดความของคำว่า “ศิลปะ” ให้เป็นที่แน่นอน อย่าให้กำกวมมากเกินไป ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในครั้งก่อน ๆ ว่า “ศิลปะ” นั้น ความหมายสำคัญอยู่ที่ ความงาม แล้วก็ ความเป็นสิ่งที่ต้องใช้ฝีมือ คือ ทำยาก แล้วก็ ให้สำเร็จประโยชน์จนถึงที่สุดในความมุ่งหมายแห่งเรื่องนั้น ๆ คำว่า “ศิลปะบริสุทธิ์” ต้องเป็นอย่างนี้
แต่เดี๋ยวนี้ในภาษาไทย คำว่า “ศิลปะ” เขาไปใช้ในความหมายหลอกหลวงก็ได้ คือ โกงเป็นเพียงศิลปะไม่ใช่ของจริง นี่เพราะภาษามันกำกวม ศิลปะโกง ศิลปะทำปลอม ศิลปะผิดนั้นเป็นศิลปะเทียม หรือจะต้องเรียกว่า “เทียมศิลปะ” ไม่ใช่ศิลปะ มันเป็นของทำขึ้นเพื่อเทียมศิลปะหลอกตาว่างาม ว่ายาก ว่าประณีต ว่ามีประโยชน์
เพราะฉะนั้นขอให้ท่านเอาความหมายให้ถูกต้อง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษมันง่าย เพราะมันจำกัดไว้ชัด คำว่า Art แปลว่า ศิลปะ ที่มีความหมายดี คือ มีความงาม มีความยาก และมีประโยชน์ ถ้าเป็น “ศิลปะเทียม” เขามีคำว่า Artificial ถ้า Arttificial นั่นคือเทียมศิลปะทำเทียมศิลปะ ไม่ใช่ศิลปะ นี้ถ้ามันเป็น ศิลปะสูงสุด ถึงขนาดสูงสุด เขาก็มีคำว่า Artistic ขนาดแห่งความมีศิลปะ คือมันสูงสุด
เมื่อเขามีคำใช้จำกัดตายตัวกันอยู่อย่างนั้น มันไม่ปนกัน ภาษาไทยเรา อะไรก็ศิลปะอะไรก็ศิลปะ แล้วเปิดไว้กว้าง คือจริงก็ได้ ปลอมก็ได้ แล้วโดยมากเดี๋ยวนี้คนมักจะมองไปในทางที่ว่ามันเป็นของปลอม คือเทียมศิลปะ
ขอให้เข้าใจเสียใหม่ว่า คำว่า ”ศิลปะ” นี้ไม่ใช่เรื่องหลอกหลวง เรื่องตบตา เรื่องคดโกงเรื่องปลอมเทียม มัน ให้สำเร็จประโยชน์ แต่มันยิ่งไปกว่าธรรมดาคือต้อง งาม ด้วยถ้าตามธรรมดาไม่องการความงามก็ได้ และถ้าเป็นศิลปะจริงมันต้องประณีตละเอียดและ ทำยากยิ่งด้วย เราก็เลยมีปัญหา เช่นว่า จะทำไม้ตัดปิ้งปลา เดี๋ยวก็จะเอากระดาษทรายมาขัด เพื่อให้มันงาม ให้มันเป็นศิลปะ อย่างนี้มันก็บ้า เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่ต้องทำถึงขนาดนั้นถ้าศิลปะที่ทำไม้ตับปิ้งปลาได้ มันก็เป็นศิลปะพออยู่ในตัวแล้วไม่ต้องเอากระดาษทรายมาขัด หรือไม่ต้องเอาน้ำมันทา
ฉะนั้นขอให้ จำกัดขอบเขตแห่งความหมายของคำว่า ศิลปะ ไว้ให้พอดี ๆ หรือว่าเราจะมองกัน ในแง่ธรรมดา ๆ ก็ให้เห็นว่า มันมีความงามชนิดที่ทำความพอใจ ไม่ต้องเป็นไปในทางรูปร่างสีสันอะไรนัก แต่มันทำความพอใจทำความสำเร็จประโยชน์แล้วก็ทำด้วยฝีมือ
ยกตัวอย่างเช่น ศิลปะการทำฟัน การทำฟันนี้เดี๋ยวนี้ไม่เป็นเรื่องของหมอเสียแล้วแต่ลายเป็นเรื่องของศิลปินเสียแล้ว เพราะว่าทำฟันนั้น ต้องทำให้ดีถึงขนาดที่เรียกว่าไม่เจ็บเลยไม่เป็นอันตรายนั้นแน่นอน แล้วยังต้องทำให้ไม่เจ็บจนเด็ก ๆ ก็ไม่ต้องร้องไห้ ฉะนั้นการทำฟันก็เลยกลายเป็นศิลปะ เลยไปกว่าเรื่องของหมอล้วน ๆ ฉะนั้นแทนที่จะเรียก “หมอฟัน” ก็กลายเป็นเรียกว่า “ทันตศิลปิน” ไปเสียโน่น
ถ้าท่านสังเกตในข้อนี้ก็จะพบว่า ศิลปะนั้นคืออะไร มันให้สำเร็จประโยชน์ตรงตามที่ต้องการแล้ว มันยังสวยงามจับใจ แล้วมันยังเป็นของประณีตละเอียดอ่อน ด้วย
นี้เราก็ดูเถอะว่า อะไรเป็นศิลปะอย่างยิ่ง อาตมาก็จะระบุไปยังสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ หรือ พระธรรม พระธรรมนี้งามอย่างยิ่ง มีแต่คนโง่เท่านั้นแหละหรือจะอยู่ในพุทธบริษัทเรานี้ก็ได้ ที่ไม่มองเห็นว่าพระธรรมเป็นของงาม เพราะคนมีหัวใจหยาบ กระด้าง ต่ำ มาแต่กำเนิดคนชนิดนี้แม้จะบวชเป็นพระเป็นเณรแล้วก็ยังไม่เห็นว่าพระธรรมเป็นของงาม เพราะไม่มีหัวศิลปะเอาเสียเลย
ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “พระธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในเบื้องปลาย” ไม่มีความหมายสำหรับคนชนิดนี้ แต่ถ้าว่าเขามีสติปัญญาเต็มตามความหมายของคำว่า พุทธบริษัทคือกลุ่มชนผู้มีความรู้ความตื่น ความเบิกบาน พระธรรมก็จะมีความหมายไปในทางความงาม ยิ่งกว่าสิ่งใด ไม่มีอะไรจะงดงาม เท่ากับพระธรรม หรือความมีพระธรรม เดี๋ยวก็จะได้ดูกันเป็นเรื่อง ๆ ไปว่างามอย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถาม

1. สุนทรีศาสตร์หมายถึงวิชาที่ว่าด้วยความงามซึ่งครอบคลุมถึงความงามในธรรมชาติและความงามในผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม ตลอดจนความงามของกระบวนการสร้างผลงานนั้นด้วย
2. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ ศึกษาสุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความงามเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกพึงพอใจในด้านบวกเสมอ จึงมีประโยชน์หลายประการดังนี้
2.1 ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
2.2 ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
2.3 เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
2.4 ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
2.5 ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและการบูรณา การเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผล และความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

อาจารย์ผู้สอนสุนทรียศาสตร์


วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

beautiful


ชื่อ นางสมจิตร ศรีสุวรรณ์ เลขที่ 65
พยาบาลศาสตรบัณฑิตต่อเนื่อง รุ่น 16
นิคเนม เอ๋
ที่อยู่ 144 หมู่ 4 ตำบลอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
มีลูก 1 คน ชื่อน้องปลื้ม

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

3.ประโยชนืที่นำไปใช้กับวิชาชีพพยาบาล

1.ดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วยด้วยจิตใจที่อ่อนโยนมองโลกในแง่
2.สงเสริมกระบวนการคิดและการตัดสิน วามงามความมีคุณค่าอย่างมีเหตุผล
3.เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วย
4.สามารถทำให้มองเห็นแนวทางที่จะแสวงหาความสุข
5.ทำให้มีจิตใจที่สงบนิ่งและมีเหตุผลในการคิดวิเคราะห์ในการทำงาน

ปลื้ม